กะหล่ำดอก
กะหล่ำดอก สรรพคุณมากมายห่างไกลโรคชื่อวิทยาศาสตร์ Brassica oleracea L. var. botrytis L. Cruciferaeชื่อสามัญ Cauliflower
วงศ์ BRASSICACEAE
ลักษณะ :
เป็นผักประเภทอายุปีเดียวและอายุสองปี แต่ส่วนใหญ่ปลูกเป็นผักอายุปีเดียว ลำต้นสูงประมาณ 40-55 เซนติเมตร ขนาดดอกหนักประมาณ 0.5-1.20 กิโลกรัม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10-20 เซนติเมตร มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 60-90 วัน
กะหล่ำดอก เป็นพืชผักที่ใช้บริโภคส่วนของดอกที่อยู่บริเวณปลายยอดของลำต้น ซึ่งมีลักษณะเป็นก้อนสีขาวถึงเหลืองอ่อน อัดตัว กันแน่น อวบและกรอบ ซึ่งนิยมเรียกส่วนดังกล่าวว่า ดอกกะหล่ำ ถ้าหากปล่อยให้เจริญเติบโตพัฒนาต่อไป ก็จะเป็นช่อดอก และ ติดเมล็ดได้
คุณค่าทางอาหาร
มีวิตามินซีสูงมาก ดอกกะหล่ำ 100 กรัม มีวิตามินซีสูงถึง 96 มิลลิกรัม สูงกว่าที่ร่างกายเราต้องการใน 1 วัน คือ 60 มิลลิกรัม เสียอีก นอกจากจะช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันแล้ว ยังช่วยเพิ่มปริมาณสเปิร์มและทำให้สเปิร์มแข็งแรงด้วย ในดอกกะหล่ำมีสารซัลโฟราเฟนที่เพิ่มปริมาณแอนไซม์ที่เป็นหลักในการต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง ช่วยป้องกันมะเร็งที่เต้านมและลำไส้ใหญ่ได้ดี
ประกอบด้วยสารเอนไซม์ต้านมะเร็งชื่อ ซัลโฟราเฟน (sulforaphane)
สารฟีโนลิกส์ (phenolics) สารไอโซไทโอไซยาเนท (isothiocyanates) สารผลึกอินโดล
(indoles) อินโดล ทรี คาร์บินัล (indole-3-carbinal) ไดไทอัลไทโอน (dithiolthiones) กลูโค
ไซโนเลท (glucosinolates) กรดโฟลิก และคูมารีน ( folic acid & coumarines) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกะหล่ำดิบจะมีวิตามินซีสูง มีธาตุโพแทสเซียม กำมะถัน และเส้นใยมาก
ประโยชน์ :
ใช้กินเป็นผัก มีสารที่สามารถดึงสารก่อมะเร็ง (carcinogen) ออกจากเซล กลไกที่เกิดขึ้น คือ สารซัลโฟราเฟน ทำให้มีการผลิตเอมไซม์-phase II มากขึ้น ซึ่งสามารถไปลดการผลิตเอ็มไซม์-phase I ที่เป็นอันตราย เพราะเอ็มไซม์ชนิดแรกนี้สามารถไป ทำอันตรายต่อสารพันธุกรรมภายในเซล พืชในวงศ์นี้รวมไปถึง บร็อคโคลี คะน้า และกะหล่ำต่างๆ สารประกอบที่พบแล้วในพืชวงศ์นี้สามารถต้านอนุมูลอิสสระได้ดี มีสารโพแตสเซี่ยมสูง ซึ่งช่วยควบคุมการทำงานของหัวใจ และความดันโลหิต มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยต้านการเกิดมะเร็ง สารซัลโฟราเฟน ช่วยเพิ่มปริมาณเอ็มไซม์ที่เป็นหลักในการต่อสู้กับเซลมะเร็งได้ดีมาก ควรกินเป็นประจำ จะสามารถช่วยป้องกันมะเร็งเต้านมและลำไส้ใหญ่ได้ดี กรดโฟลิค ช่วยป้องกันมะเร็ง ลำไส้และมะเร็งเต้านม สารอินโดลส์ คาดว่าช่วยเสริมภูมิคุ้มกันและต้านมะเร็งบางชนิดได้ดี สารอินโดล-3 คารฝืบินอล ช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม คั้นเอาแต่น้ำอมช่วยรักษาแผลในปาก กลั้วคอแก้คออักเสบ น้ำผักสดช่วยรักษาแผลเรื้อรัง โรคเรื้อนกวาง หอบหืด ไม่ควรปรุงให้สุกเกินไป เพราะ ความร้อนจะไปทำลายคุณสมบัติทางยาได้
สรรพคุณ
ในกะหล่ำดอกจะมีสารที่สามารถดึงสารก่อมะเร็งที่เรียกว่า คาร์ซิโนเจน (carcinogens) ออกจากเซลล์ กลไกที่เกิดขึ้นคือ สารซัลโฟราเฟน (sulforaphane) ทำให้มีการผลิตเอนไซม์เฟสทูมากขึ้น (phase II) ซึ่งสามารถไปลดการผลิตเอนไซม์เฟสวัน (phase I) ที่เป็นอันตรายได้ เพราะเอนไซม์เฟสทู สามารถไปทำอันตรายสารพันธุกรรมในเซลล์ (cellular DNA) และจากรายงานผลการวิจัยที่เป็นข่าวฮือฮาเมื่อต้นปีที่แล้วพบว่า พืชในวงศ์ ครูซิเฟอร์อี้ (Cruciferae) ซึ่งรวมถึง บร็อคโคลี คะน้า ผักกาดขาว และกะหล่ำต่างๆ มีสารประกอบที่สามารถต้านอนุมูลอิสระได้ดี ดังนั้นจึงช่วยต้านมะเร็งได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีรายงานว่า ผักดังกล่าวช่วยป้องกันมะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ดี และจากการที่มีโพแทสเซียมสูงนี้เอง จึงช่วยควบคุมการทำงานของหัวใจและความดันโลหิตได้อีกด้วย
มีรายงานวิธีการใช้กะหล่ำดอก โดยให้นำกะหล่ำดอกไปคั้นน้ำ แล้วนำน้ำกะหล่ำดอกที่คั้นได้ไปใช้ อมกลั้วปาก พบว่าสามารถรักษาแผลในปาก แก้เจ็บคอ นอกจากนี้ยังพบว่าในน้ำ
กะหล่ำดอกสดช่วยรักษา แผลเรื้อรัง โรคเรื้อนกวาง ปวดศรีษะชนิดเรื้อรัง หอบหืด หลอดลมอักเสบ โดยแนะนำให้ดื่มประมาณ 1- 2 ออนซ์ทุกวัน และหากรับประทานกะหล่ำดอกสดมีคำแนะนำว่า ในการรับประทานกะหล่ำดอกอย่าปรุงสุกเกินไปนะคะ เพราะการปรุงสุกเกินไปจะทำลายคุณสมบัติทางยาของกะหล่ำดอก
http://the-than.com/samonpai/P/18.html via ความรู้เรื่องอาหารและสุขภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น