วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2553

อาหารกับสุขภาพ: ปรอทในไข่เค็ม



คนไทยโชคดีที่มีอาหารการกินที่อุดมสมบูรณ์ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี รวมถึงไม่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติที่กำลังก่อตัวคุกคามในหลายๆประเทศ

เรื่องราวความเป็นมาของอาหารหลายชนิดได้ถูกนำขึ้นมาเป็นจุดขาย เพราะหลายๆคนสนใจเกี่ยวกับที่มา กรรมวิธีการปรุงและการผลิต

ยกตัวอย่างในวันนี้ มีอาหารชนิดหนึ่งที่คนไทยไม่ควรลืมนั่นคือ ไข่เค็ม

ไข่ เค็มเป็นอาหารพื้นบ้านธรรมดาที่คนไทยเราบริโภคกันมานาน วิธีการทำนั้นไม่ยาก คือ นำไข่เป็ดที่เลี้ยงไว้ตามบ้านมาพอกด้วยดินจอมปลวกผสมเกลือ และนำมาหุ้มด้วยขี้เถ้าแกลบ ทิ้งไว้ประมาณ 20 วัน ก็สามารถนำมารับประทานได้

ถ้าเป็นการผลิตในสมัยก่อน เรื่องวัตถุเจือปนและสารปนเปื้อนต่างๆนั้น ไม่มีโอกาสเข้าไปสัมผัสกับเนื้อไข่ได้แน่นอน คนกินก็ปลอดภัย

แต่สมัยนี้ไม่แน่ จากเดิมที่เคยใช้ดินพอกก็หันมาใช้วัตถุดิบอย่างอื่นมาพอกแทน โดยลืมคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยของคนกิน

หวังเพียงเพื่อเพิ่มยอดขาย แต่ไม่สนใจว่าคนกินจะได้รับอันตราย

วันนี้คงไม่มีใครคาดคิดว่าจะพบสารปรอทปนเปื้อนอยู่ในไข่เค็ม

ถ้า สถานที่ผลิตไข่เค็มตั้งอยู่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรมหนักที่ปล่อยน้ำเสียลงสู่ แม่น้ำ หรืออาจปนเปื้อนมากับดินที่ใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตไข่เค็ม

วันนี้สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างไข่เค็มที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 6 ตัวอย่าง เพื่อวิเคราะห์หาสารปรอทปนเปื้อน

ผล ปรากฏว่า พบปนเปื้อนจำนวน 4 ตัวอย่าง แต่พบในปริมาณที่น้อยและยังอยู่ในเกณฑ์ที่ทาง อย.กำหนด คือ พบสารปรอทปนเปื้อน ได้ไม่เกิน 0.02 มิลลิกรัม/อาหาร 1 กก.

วันนี้บริโภคไข่เค็มกันได้อย่างสบายใจ แต่ขอแนะว่า ไม่ควรบริโภคในปริมาณมากๆ และบ่อยมากนัก เพื่อความปลอดภัยของร่างกาย.


ขอบคุณที่มา: ไทยรัฐออนไลน์
• โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
• 13 สิงหาคม 2553, 05:00 น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น