กุ้งอบวุ้นเส้น
ขอบคุณภาพจาก FB คุณทรงพล บุญมาก
วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2556
มิโซะชิหรุ ( Miso shiru ) หรือ ซุปเต้าเจี้ยว
มิโซะ ซุป
มิโซะชิหรุ ( Miso shiru ) หรือ ซุปเต้าเจี้ยว เป็นอาหารที่มีเครื่องปรุงที่ทำ มาจาก มิโซะ- Miso (เต้าเจี้ยว) ซึ่ง มิโซะ ได้มาจากการแปรรูปอย่างหนึ่งของถั่วเหลืองโดยใช้วิธีการหมั ก ทำให้สามารถเก็บไว้ได้นานและคุณ ค่าทางอาหารไม่เปลี่ยน มีคุณค่าทางโภชนาการและโปรตีนสู ง มีรสชาติคล้ายสารสกัดจากเนื้อสั ตว์ จึงใช้เป็นเครื่องปรุงอาหารสำหร ับคนที่หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์เป็ นอย่างดี (เหมาะสำหรับคนทานเจ)
มิโซะยังอุดมไปด้วยกรดอะมิโนที่ ร่างกายต้องการถึง 17 ชนิด มีสารชูรสและกลิ่นหอม สารที่ว่านี้ เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในระหว่า งการหมัก ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายและไม่ ก่อให้เกิดอันตรายแต่อย่างใด คนญี่ปุ่นมักนำมิโซะมาใช้เป็นส่ วนประกอบของอาหารหลากหลายชนิด ซึ่งนอกเหนือจากจะทำให้อาหารได้ รสชาติดีขึ้นแล้ว ยังเป็นการเพิ่มโปรตีนในอาหารอี กด้วย
มิโซะมีโปรตีน เนื่องจากในถั่วเหลืองมีโปรตีนม ากที่สุด แต่เป็นโปรตีนที่ไม่สมบูรณ์เนื่ องจากขาดกรดอะมิโนที่จำเป็นบางต ัว คือเมทไทออนีนและซีสตีนสูง แต่ไลซีนต่ำ ถ้าคิดเทียบน้ำหนักกับอาหารประเ ภทอื่น ๆ จะพบว่ามีปริมาณโปรตีนสูง เช่น สูงกว่าเนื้อสัตว์ 2 เท่า สูงกว่าไข่ไก่และข้าวสาลี 4 เท่า สูงกว่าขนมปัง 5-6 เท่า และสูงกว่านมวัว 12 เท่า
ถั่วเหลืองอุดมไปด้วยเกลือแร่ เหล็ก และโพแทสเซียม ซึ่งช่วยในการเจริญเติบโตของกระ ดูก และที่สำคัญคือ ธาตุเหล็กช่วยในการบำรุงโลหิต ถั่วเหลืองยังอุดมไปด้วยวิตามิน เอ ,บี 1, บี 2 ,ดี, อี, เค และไนอะซีน จะพบว่าถั่วเหลืองมีวิตามินบี 2 มากกว่าพืชอื่น ๆ นอกจากนี้ยังพบว่าถั่วเหลือง ประกอบด้วยไบโอติน โคลิน และอิโนซิทอล ที่ทำหน้าที่คล้ายวิตามินด้วย
ที่มา : pantown.com/by สาระแห่งสุขภาพ
มิโซะชิหรุ ( Miso shiru ) หรือ ซุปเต้าเจี้ยว เป็นอาหารที่มีเครื่องปรุงที่ทำ
มิโซะยังอุดมไปด้วยกรดอะมิโนที่
มิโซะมีโปรตีน เนื่องจากในถั่วเหลืองมีโปรตีนม
ถั่วเหลืองอุดมไปด้วยเกลือแร่ เหล็ก และโพแทสเซียม ซึ่งช่วยในการเจริญเติบโตของกระ
ที่มา : pantown.com/by สาระแห่งสุขภาพ
มิโซะซุป
วิธีทำมิโซะซุป
ส่วนผสม
-สาหร่ายแห้ง(คอมบุ) ½ ช้อนโต๊ะ
-เต้าหู้อ่อนญี่ปุ่น 100 กรัม
-น้ำซุปปลาแห้ง 400 กรัม
-มิโซะ( ซุปเต้าเจี้ยวเข้มข้น ) ½ ช้อนโต๊ะ
-ต้นหอมญี่ปุ่นซอยตามขวาง 2 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1.นำสาหร่ายแห้งแช่น้ำจนพองตัว แล้วบีบเอาดน้ำออก หากชิ้นใหญ่เกินไปอาจตัดให้เล็ก ลงได้ ใส่ถ้วยพักไว้
2.หั่นเต้าหู้อ่อนเป็นสี่เหลี่ย มลูกเต๋าขนาดประมาณ 1x1 ซม. ใส่ถ้วยพักไว้
3.ใส่น้ำซุปปลาแห้งลงในหม้อนำขึ ้นตั้งไฟกลางจนเดือด นำมิโซซุปใส่ถ้วยแล้วตักน้ำซุปป ลาแห้งนิดหน่อยลงไปคนให้มิโซละล ายดีจากนั้นเทใส่หม้อซุปคนให้เข ้ากันดี
4.พอน้ำเดือดใส่สาหร่ายลงไป พอน้ำเดือดอีกครั้งใส่เต้าหู้อ่ อนลงไป พอน้ำเดือดอีกครั้งลดไปลงเหลืออ ่อน ต้มต่ออีกประมาณ 5 นาที ชิมรสหากไม่เค็มเพิ่มมิโซะ อีกก็ได้
5.ตักใส่ถ้วยโรยต้นหอมซอยเสิร์ฟ ร้อนๆ
หมายเหตุ : น้ำซุปปลาแห้ง ใช้ปลาโอแห้งของญี่ปุ่น(มีขายตา มซุปเปอร์มาเก็ต)กะปริมาณที่พอเ หมาะต้มในน้ำเดือดสักพักก่อนก็ไ ด้ ไม่ต้องทิ้งเนื้อปลาสามารถใส่ส่ วนผสมอื่น ๆ ตามลงไปได้เลย
การเพิ่มคุณค่าให้มิโซะซุป อาจใส่ส่วนผสมอื่น ๆ ลงไปด้วยก็ได้ เช่น เห็ดเข็มทอง ปูอัด มันเทศ หน่อไม้ฝรั่งและผักอื่น ๆ ตามชอบ
ที่มา : food.thaibizcenter.com/by สาระแห่งสุขภาพ
ภาพ : เต่าญี่ปุ่น/pantown.com
ส่วนผสม
-สาหร่ายแห้ง(คอมบุ) ½ ช้อนโต๊ะ
-เต้าหู้อ่อนญี่ปุ่น 100 กรัม
-น้ำซุปปลาแห้ง 400 กรัม
-มิโซะ( ซุปเต้าเจี้ยวเข้มข้น ) ½ ช้อนโต๊ะ
-ต้นหอมญี่ปุ่นซอยตามขวาง 2 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1.นำสาหร่ายแห้งแช่น้ำจนพองตัว แล้วบีบเอาดน้ำออก หากชิ้นใหญ่เกินไปอาจตัดให้เล็ก
2.หั่นเต้าหู้อ่อนเป็นสี่เหลี่ย
3.ใส่น้ำซุปปลาแห้งลงในหม้อนำขึ
4.พอน้ำเดือดใส่สาหร่ายลงไป พอน้ำเดือดอีกครั้งใส่เต้าหู้อ่
5.ตักใส่ถ้วยโรยต้นหอมซอยเสิร์ฟ
หมายเหตุ : น้ำซุปปลาแห้ง ใช้ปลาโอแห้งของญี่ปุ่น(มีขายตา
การเพิ่มคุณค่าให้มิโซะซุป อาจใส่ส่วนผสมอื่น ๆ ลงไปด้วยก็ได้ เช่น เห็ดเข็มทอง ปูอัด มันเทศ หน่อไม้ฝรั่งและผักอื่น ๆ ตามชอบ
ที่มา : food.thaibizcenter.com/by สาระแห่งสุขภาพ
ภาพ : เต่าญี่ปุ่น/pantown.com
วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2556
วิธีเตรียมเห็ดหอมแห้งก่อนนำมาปรุงอาหาร
เห็ดหอมแห้งก่อนจะนำมาปรุงอาหาร ...แช่น้ำให้นิ่ม หั่นบางๆ ทอดน้ำมันให้หอมเหลืองใส่น้ำมัน หอยซีอิ้วขาว....ใส่ตู้เย็นเก็บ ไว้ผัดผัก ปรุงอาหารได้หลายอย่างค่ะ...^^ (Cr. fb: Thongsook Churnberkban)
วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
น้ำไส้กล้วย ล้าง ตับ ไต ไส้พุง
ถ้าการล้างพิษดูทรมานไป.....ลองวิธีนี้ดูค่ะ
น้ำไส้กล้วย ล้าง ตับ ไต ไส้พุง
สรรพคุณ
ช่วยให้ระบบขับถ่ายปัสสาวะเป็นปรกติ ล้างตับ ไต ไส้พุง สารพิษต่างๆ ภายในร่างกายผ่านออกทางปัสสาวะ ทั้งยังช่วยละลายนิ่วในไต ถุงน้ำดี และต่อมลูกหมาก ให้หมดไปอีกด้วย
วิธีทำ
ลอกกาบกล้วยที่ตัดเครือแล้วให้ถึงไส้แกนใน แล้วนำมาหั่นเป็นท่อนๆ ใส่ถุงพลาสติกมัดปากถุง เก็บในตู้เย็น แช่ช่องผัก เวลาใช้ให้นำออกมา ครึ่งกิโลกรัม หั่นเป็นชิ้นเล็กๆต้มกับน้ำ 2 ลิตร โดยต้มน้ำให้เดือดก่อนจึงหรี่ใช้ไฟอ่อน จากนั้นใส่แกนกล้วยในต้นกล้วยลงไป ต้มต่อให้เดือดด้วยไฟอ่อน 10 นาที ยกลง นำน้ำที่ต้มได้มาดื่ม
วิธีใช้
ดื่มครั้งละ 1 แก้วก่อน 30 นาทีก่อนอาหาร เช้า กลางวัน และเย็น
หมายเหตุ
ท่านที่มีปัญหา ท้องอืด แน่นท้อง หลังรับประทานอาหาร ปวดท้อง ปวดเอว ถ่ายปัสสาวะกะปริบกะปรอย ปัสสาวะขุ่นไม่ใส ปวดแข้ง ปวดขา หนักตัว ให้ดื่มต่างน้ำทั้งวัน วันละ 2 ลิตร โดยดื่มหลังตื่นนอน ตอนเช้า ก่อน 3 แก้ว จากนั้นทยอยดื่ม ส่วนที่เหลือ ก่อนอาหาร 30 นาที หลังอาหาร 40 นาที ดื่มทุกวันจนกว่าจะหายเป็นปรกติ
ส่วนสรรพคุณทางโบราณ
ส่วนที่ใช้ :
หัวปลี เนื้อกล้วยน้ำว้าดิบ หรือห่าม กล้วยน้ำว้าสุกงอม ราก ต้น ใบ ยางจากใบ
สรรพคุณ :
ราก - แก้ขัดเบา
ต้น - ห้ามเลือด แก้โรคไส้เลื่อน
ใบ - รักษาแผลสุนัขกัด ห้ามเลือด
ยางจากใบ - ห้ามเลือด สมานแผล
ผล - รักษาโรคกระเพาะ แก้ท้องเสีย ยาอายุวัฒนะ แก้โรคบิด รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แก้ริดสีดวง
กล้วยน้ำว้าดิบ - มีฤทธิ์ฝาดสมาน ใช้แก้อาการท้องเดิน แก้โรคกระเพาะ และอาหารไม่ย่อย
กล้วยน้ำว้าสุกงอม - เป็นอาหาร ยาระบาย สำหรับผู้ที่อุจจาระแข็ง หรือเป็นริดสีดวงทวารขั้นแรกจนกระทั่งถ่ายเป็นเลือด
หัวปลี - (ช่อดอกของต้นกล้วย จำนวนไม่จำกัด) ขับน้ำนม
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ขับน้ำนม - ใช้หัวปลีแกงเลียงรับประทานบ่อยๆ หลังคลอดใหม่ๆ
แก้ท้องเดินท้องเสีย
ใช้กล้วยน้ำว้าดิบหรือห่ามมาปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นบางๆ ใส่น้ำพอท่วมยา ต้มนานครึ่งชั่วโมง ดื่มครั้งละ 1/2 - 1 ถ้วยแก้ว ให้ดื่มทุกครั้งที่ถ่าย หรือทุกๆ 1-2 ชั่วโมง ใน 4-5 ชั่วโมงแรก หลังจากนั้นให้ดื่มทุกๆ 3-4 ชั่วโมง หรือวันละ 3-4 ครั้ง
สรรพคุณเด่น :
แก้โรคกระเพาะ ท้องผูก
1. แก้โรคกระเพาะ - นำกล้วยน้ำว้าดิบ (ถ้าเป็นกล้วยกักมุกดิบจะดีกว่า) มาปอกเปลือก แล้วนำเนื้อมาฝานเป็นแผ่นบางๆ ตากแดด 2 วันให้แห้งกรอบ บดเป็นผงให้ละเอียด ใช้รับประทาน ครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำข้าว น้ำผึ้ง (น้ำธรรมดาก็ได้) รับประทานก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง และก่อนนอนทุกวัน
2. แก้ท้องผูก - ให้รับประทานกล้วยน้ำว้าสุกงอม ครั้งละ 2 ผล วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร 1/2 ชั่วโมง เวลารับประทานควรเคี้ยวให้ละเอียดที่สุด
3. แก้ท้องเดิน - ใช้เนื้อกล้วยน้ำว้าห่ามรับประทาน หรือใช้กล้วยน้ำว้าดิบ ฝานเป็นแว่น ตากแห้งรับประทาน
สารเคมีที่พบ :
หัวปลี มีธาตุเหล็กมาก
หัวปลี และราก มี Triterpene หรือ Steroid
ผลกล้วย ทุกชนิดประกอบด้วย น้ำ แป้ง โปรตีน ไขมัน เส้นใย เกลือแร่ต่างๆ (โดยเฉพาะแคลเซียม เหล็ก และโปรแตสเซียมในกล้วยหอมมีมาก) วิตามิน และเอนไซม์ต่างๆ นอกจากนี้ยังมี Serotonin Noradrenaline และ Dopamine
ผลดิบ มีแป้ง Tannin acid, Gallic acid และ Pectin มาก
ส่วนกล้วยหอมสุก
ประโยชน์ทางยาของกล้วยหอม
กล้วยหอมเป็นผลไม้ รสหวาน เย็น ไม่มีพิษ สารอาหารที่สำคัญๆ ในกล้วยหอม ได้แก่ แป้ง โปรตีน ไขมัน น้ำตาล วิตามินหลายชนิด จัดเป็นผลไม้บำรุงร่างกายดี นอกจากนี้กล้วยหอมยังสามารถใช้รักษาโรคได้หลายชนิด เช่น เป็นยาทำให้ปอดชุ่มชื่น แก้กระหาย ถอนพิษ นอกจากนี้ยังพบว่า มีฤทธิ์รักษาตามตำรับยา ดังนี้
รักษาความดันโลหิตสูง - เอาเปลือกกล้วยหอมสด 30-60 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม ถ้าเอาปลีกล้วยต้มรับประทานเป็นประจำ จะช่วยป้องกันเส้นเลือดในสมองแตกได้
รักษาริดสีดวงทวาร แก้ท้องผูก - รับประทานกล้วยหอมสุกตอนเช้า ขณะท้องว่างวันละ 1-2 ผล ทุกวัน
รักษามือเท้าแตก - เอากล้วยหอมที่สุกเต็มที่ เจาะรูเล็กๆ ที่ปลายข้างหนึ่ง แล้วบีบเอากล้วยออกมาทาที่เท้าแตก ทิ้งไว้หลายชั่วโมง จึงล้างออก จะรู้สึกดีขึ้น
ขอบคุณข้อมูล จากอาจารย์ สุวัฒน์ ทรัพยะประภา โครงการนักวิจัยอาสา ตู้ปณ.106 ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160 โดย Ayurvedic Association of Thailand via Ayurvedic Association of Thailand page on fb
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)